วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2552

วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2552

FONT design



การออกแบบฟอนต์ภาษาอังกฤษด้วยวิธีการอย่างง่ายๆ เช่น ลายมือ
เพียงแค่พิมพ์แบบ+แล้ววาดลงในแบบ (ด้วยลายมือ )+สแกนเข้าคอมพิวเตอร์
+อัพโหลด+โหลดออกมาใช้งานเพียงเท่านี้ก็สามารถได้ฟอนต์ที่เราออกแบบเองอย่างใจต้องการ...
ลองเข้าไปทดลองออกแบบได้ที่ yourfonts
ส่วนภาพข้างบนนี้เป็นตัวอย่างการออกแบบของ kanomdesign
ส่วนใครที่อยากทดลองนำไปใช้ เชิญคลิกโหลดที่นี่ FONT KANOMDESIGN

TYPE IS TO READ.




ลักษณะตัวเนื้อความที่ดี
  • เมื่ออ่านไปเรื่อยๆ จะลืมว่าหน้าตาของแบบตัวพิมพ์เป็นอย่างไร
  • ทำให้อ่านแล้วจับใจความได้ง่าย
  • ไม่ปรากฏรูปลักษณ์ที่ชัดเจน

ความล้มเหลวของตัวเนื้อความ
  • อ่านยาก
- เพี้ยนไปจากมาตรฐานมาก
- มีคู่สับสน
- ช่องไฟชิดเกินไป
  • รำคาญตา
- ลูกเล่นในการออกแบบมากไป
- ช่องไฟไม่สม่ำเสมอ
- ขนาดตัวอักษรไม่สมดุล
- ความไม่ปราณีตกลมกลืนของรูปอักษร (Glyph)

การศึกษารูปลักษณ์ของอักษรไทย เพื่อประโยชน์ในการออกแบบ
ทำให้รู้ว่าข้อควรระวังในการออกแบบตัวพิมพ์ไทยคือ
ระวังคู่สับสน
กำหนด Style จากลักษณะเด่นของอักษรไทย(คิดว่าหมายถึง จับลักษณะเด่นของรูปลักษณ์อักษรไทยก่อน เมื่อรู้แล้วจึงออกแบบ ใส่ Style เข้าไป)
ตรวจสอบว่าออกแบบแล้วเกิดคู่สับสนใหม่หรือไม่

ลักษณะเด่น 6 ประการของอักษรไทย
1. มีหัว
- หัวกลม : พ ผ ด ค ภ ถ ...
- หัวม้วน : ข ช ...
- หัวหยัก : ฃ ฆ ฑ ...
2. มีหาง - หางตรง : ป ฝ ฟ ฤ ฦ ...
- หางเฉียง : ช ซ ศ ส ...
- หางขมวดตวัด : ฬ ฮ ...
3. มีขมวดม้วน : ม น ห ...
4. มีปาก : ก ฎ ถ ...
5. มีหยัก : ฅ ต ฏ ...
6. มีเส้นสะบัด : ฐ ธ ร โ
อ้างอิง : คุณปริญญา โรจน์อารยานนท์

การสร้างฟอนต์ที่มีลักษณะหรือรูปลักษณ์แบบจีน เพราะที่ผมออกแบบปกให้กับบริษัทหนึ่งนั้นมีการใช้ตัวอักษรแบบจีนบ่อยครั้งมาก จึงตัดปัญหาการจัดสร้างและดัดแปลงตัวอักษรอยู่ตลอดเวลา จึงคิดที่จะประดิษฐ์ฟอนต์รูปแบบจีนเพื่อใช้ในงานสิ่งพิมพ์ และเพื่อประโยชน์ของชาวกราฟิกในอนาคต ถ้าฟอนต์ตัวนี้สร้างเสร็จเมื่อไหร่จะนำมาเผยแพร่ให้ใช้โดยทั่วกัน

วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2552

20 Sould Avoid

20 อย่างที่ฟรีแลนซ์ไม่ควรทำ

  • 1. ห้ามโลภมากรับงานไม่ดูสังขาร
  • 2. กดราคาตัวเอง
  • 3. เผางาน
  • 4. บอกอัตราราคางานคู่แข่ง
  • 5. งี่เง่า ง๊องแง๊ง
  • 6. เมาแล้วขับอาจโดนจับ (ไม่รู้นะเออ)
  • 7. รักแฟน ห่วงชู้ เอ็นดูกิ๊ก (ห่วงหน้าพะวงหลัง)
  • 8. สมองตัน (คิดงานไม่ออก)
  • 9. อย่ามาเนียน (ขอเลื่อนส่งงาน)
  • 10. อกหัก พิการรักซ้ำซ้อน
  • 11. พิศวาสยูนิฟอร์ม (รักจะเป็นฟรีแลนซ์อย่าริอยากใส่ยูนิฟอร์ม)
  • 12. ไม่มี Blog หรือ Myspace
  • 13. ขี้คุย โอ้อวด (เก่งซะเหลือเกิน)
  • 14. โปรเจกต์กะทะร้อน (รับงานด่วน)
  • 15. บ่น บ่น บ่น
  • 16. ไม่มีอาวุธประจำตัว (ชอบยืมของชาวบ้าน ต้องมีคอมฯ เป็นของตัวเอง)
  • 17. เป็นโจร (ขโมยงานคนอื่นเป็นนิจ)
  • 18. ฟรีแลนซ์อ่ะ เค้าไม่นอนเป็นเวลานะคับ
  • 19. ละเลยหนังสือสัญญา
  • 20. ไว้ใจเกินความจำเป็น

Corrado Feroci


ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี มีนามเดิมว่า คอร์ราโดเฟโรจี ( Professor Corrado Feroci ) เป็นชาวนคร ฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี เกิดเมื่อ วันที่15 กันยายน พ.ศ. 2435 ณ. ตำบล San Giovanni บิดาชื่อ นาย Artudo Feroci และมารดาชื่อนาง Santina Ferociมีอาชีพค้าขาย เข้าศึกษาในระดับชั้นประถมเมื่อปีพ.ศ.2441ภายหลังจบหลักสูตร 5 ปีจึงเข้าศึกษาในโรงเรียนมัธยม อีก 5 ปี จากนั้นจึงเข้าศึกษาทางด้านศิลปะในโรงเรียนราช วิทยาลัยศิลปะ แห่ง นคร ฟลอเรนซ์ จบหลักสูตรวิชาช่าง 7 ปีในขณะที่มีอายุ 23 ปีและได้รับประกาศนียบัตรช่างปั้นช่างเขียนซึ่งต่อมาได้สอบคัดเลือกรับปริญญาบัตร เป็นศาสตราจารย์มีความรอบรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ศิลป์วิจารณ์ศิลป์และปรัชญาโดยเฉพาะมีความสามารถทางด้านศิลปะแขนงประติมากรรม และจิตรกรรม

ในสมัยรัชกาลที่ 6 มีพระประสงค์จะหาช่างปั้นมาช่วยปฏิบัตราชการ เพื่อฝึกฝน ให้คนไทยสามารถปั้นรูปได้อย่างแบบตะวันตกและสามารถมีความรู้ถึงเทคนิคต่างๆ ในงานมาปฏิบัติราชการกับรัฐบาลไทย ทางรัฐบาลอิตาลีจึงเสนอ นายคอร์ราโดเฟโรจี มาพร้อมทั้งคุณวุฒิและผลงาน ซึ่งรัฐบาลไทยก็ยินดีรับเข้าเป็นข้าราชการ ในตำแหน่งช่างปั้น กรมศิลปากร กระทรวงวัง เมื่อวันที่ 14 กราคม พ.ศ.2466 เมื่ออายุย่างเข้า32ปีโดยได้รับเงินเดือนๆละ 800 บาท ค่าเช่าบ้าน 80 บาท และต่อมาใน ปีพ.ศ.2469 ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ช่างปั้นหล่อ แผนกศิลปากรสถาน แห่งราชบัณฑิตยสภาได้รับ เงินเดือนๆ ละ 900 บาท ต่อมาได้ย้ายมาเป็นช่างปั้น สังกัดอยู่ในกองประณีตศิลปกรรมกรมศิลปากรกระทรวงธรรมการท่านได้วางหลักสูตรอบรมกว้างๆและทำการสอนให้แก่ผู้ที่สนใจในวิชาประติมากรรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ผู้ได้รับการอบรมรุ่นแรกๆ ส่วนมากสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียน เพาะช่าง ได้แก่สาย ประติมาปกร สุข อยู่มั่น ชิ้น ชื่อประสิทธิ์ สวัสดิ์ ชื่นมะนา และแช่ม แดงชมพู ผู้ที่มาอบรมฝึกงาน กับศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมทั้งสิ้นเพราะทางราชการมีนโยบายส่งเสริมช่างปั้น ช่างหล่อให้มีคุณภาพและมีมาตรฐาน 
ซึ่งต่อมาบุคคลเหล่านี้ได้มาเป็นผู้ช่วยช่างและบางคนก็เข้ารับราชการช่วยแบ่งเบาภาระงานและช่วยทำให้กิจการปั้นหล่อของกรมศิลปากรเจริญขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อทางราชการเห็นความสำคัญของการศึกษาศิลปะตามแนวในปัจจุบันจึงได้ขอให้ศาสตราจารย์ศิลป์ พระศรี เป็นผู้วางหลักสูตรการศึกษาให้มีมาตรฐานเดียวกันกับ โรงเรียนศิลปะในยุโรป

ศาสตราจารย์ศิลป ์พีระศรีจึงเริ่มวางหลักสูตรวิชา จิตรกรรม และประติมากรรมขึ้นในระยะเริ่มแรกจากโรงเรียนประณีตศิลปกรรม " ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนศิลปากรแผนกช่าง" และในปีพ.ศ.2485 กรมศิลปากรได้แยกจากกระทรวง ศึกษาธิการไปขึ้นอยู่กัยสำนักนายกรัฐมนตรีและ รัฐบาลในขณะนั้นโดยฯพณฯจอมพลป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีตระหนักถึงความสำคัญของศิลปะว่าเป็นวัฒนธรรมที่สำคัญยิ่งสาขาหนึ่งของชาติ  จึงได้มีคำสั่งให้อธิบดีกรมศิลปากรในขณะนั้นคือ พระยาอนุมานราชธนดำเนินการปรับปรุง หลักสูตร และ ตราพระราชบัญญัติยกฐานะโรงเรียนศิลปากรขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากรมีคณะจิตรกรรมประติมากรรมเป็นคณะวิชาเดียวของมหาวิทยาลัยศิลปากรเปิดสอนเพียง 2 สาขาวิชาคือ สาขาจิตรกรรมและสาขาประติมากรรมและมี ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีเป็นผู้อำนวยการสอนและดำรง ตำแหน่งคณบดี คนแรกดังนั้นการเรียนการสอนศิลปะในสาขาวิชาศิลปะจึงเริ่มดำเนินการในระดับปริญญาขึ้นตั้ง แต่นั้นเป็นต้นมา
ในปีพ.ศ.2491 ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีได้รับมอบหมายจากรัฐบาลไทยให้นำศิลปะไทย ไปแสดง ณ กรุงลอนดอนประเทศอังกฤษในปีนี้ท่านได้เดินทางกลับไปประเทศอิตาลีและเดินทางกลับมาประเทศไทยอีกครั้งในต้นปีพ.ศ.2492โดยกลับมาใช้ชีวิตเป็นครูสั่งสอนลูก ศิษย์ลูกหาทางด้านศิลปะที่คณะจิตรกรรม และประติมากรรม

ในปีพ.ศ.2496 ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีได้รับหน้าที่อันมีเกียรติคือเป็นประธานกรรมการสมาคมศิลปะแห่งชาติซึ่งขึ้นอยู่กับสมาคมศิลปะนานาชาติ(International Association of Art)ในปีพ.ศ.2497ได้เป็นผู้แทนศิลปินไทยไปร่วมประชุมศิลปินระหว่างชาติครั้งแรกที่ประเทศออสเตรียท่านได้นำเอกสารผลงานศิลปะและบทความชื่อศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทย(Contemporary Art in Thailand)ไปเผยแพร่ในการประชุมด้วยทำให้นานาชาติรู้จักประเทศไทยดีขึ้นและนับเป็นคนแรกที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนศิลปะระหว่างศิลปินไทยและศิลปินต่างประเทศขึ้น ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ถึงแก่กรรมที่โรงพยาบาล ศิริราช เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 รวมสิริอายุได้ 70 ปี

กราฟฟิตี “ศิลปะหรือขยะ”


บางคนอาจจะเคยผ่านตามาบ้างแล้ว แต่ก็ไม่สามารถบอกได้ว่า สิ่งที่คุณเห็นนั้น มันเป็นศิลปะหรือขยะกันแน่ ?

“บอมบ์” คือ วิธีการหนึ่ง ในการพ่นกราฟฟิตี การปฏิบัติการบอมบ์นี้ ต้องเป็นไปอย่างเงียบสุด เร็วที่สุด และสิ่งที่สำคัญ ต้องมีคนล่วงรู้น้อยที่สุด

กราฟฟิตี ถือกำเนิดมาตั้งแต่ในสมัยที่ผู้เขียน ยังไม่เกิดด้วยซ้ำ ตามหลักฐานนั่นก็คือ กราฟฟิตีเริ่มต้นขึ้น ในเมืองฟิลาเดลเฟีย ช่วงทศวรรษที่ 1960 ก่อนจะแพร่หลายสืบต่อๆ กันมา จนถึงปัจจุบัน คนส่วนใหญ่ มองข้ามความสวยงาม ของศิลปะที่เกิดจากการพ่นสีสเปรย์นี้ บางคนเห็นว่ามันดูรก สกปรก ไม่สะอาดตา และบางคนที่ว่านี้ ส่วนหนึ่ง มาจากกลุ่มที่ไม่ได้เรียนศิลปะ หรือแม้แต่กลุ่มที่เรียนศิลปะเอง ก็ยังคิดว่ามันเป็นงานที่ยังไม่เป็นศิลปะที่แท้จริงหลายๆ คนก็ตีความต่างๆ นานาจากจิตสำนึกของแต่ละคน ถ้าเราคิดว่าสิ่งที่ไรเตอร์ กระทำเพื่อต้องการแสดงตัวคน ก่อกวน ระบายความเครียด ชื่อเสียง หรืออาจจะตามกระแสสมัย ไม่มีใครสามารถตอบได้ดีที่สุด เท่ากับตัวของผู้สร้างงานเอง (ไรเตอร์) ถึงกระนั้น การสื่อสารความหมาย และอัตตลักษณ์ของกราฟฟิตี มีทั้งทัศนคติที่เป็นแง่ลบและบวก สำหรับผู้เขียนเอง ยังคิดว่างานกราฟฟิตี เป็นศิลปะที่เข้าใจได้ยาก มีความรู้สึกแอบแฝงอะไรบางอย่าง จากไรเตอร์ที่ไม่สามารถรู้สึกได้

ส่วนรูปแบบ ดีไซน์ของศิลปะกราฟฟิตี ก็มีหลากหลายแบบ เคยสังเกตไหมครับ ? บางครั้ง ผู้เขียนขับรถ ผ่านไปตามท้องถนน ก็จะเห็นบางสถานที่ ที่มีผลงานศิลปะแบบกราฟฟิตี อยู่ริมทาง ก็จะเห็นรูปแบบ ที่ไม่เหมือนกัน เช่น TAG (ลายเซ็น) THROW-UP (ตัวอักษรขาว-ดำ มีเส้นตัดขอบ ดูมีมิติ) BUBBLE (คล้ายโทรว์อัป แต่มีสีสัน และรูปทรงกลมมน ) PIECE (ผลงานของไรเตอร์คนเดียว เป็นภาพหรือตัวอักษร) WILDSTYLE (เน้นสวยงาม เพิ่มการเกาะเกี่ยวของตัวอักษร อ่านยากกว่า) CHARACTER (เป็นตัวการ์ตูน หรือภาพเหมือนจริง อาจเป็นสัญลักษณ์ของไรเตอร์) PRODUCTION (การรวมกราฟฟิตีทุกรูปแบบ เข้าไว้ด้วยกัน) ไรเตอร์แต่ละคน ก็จะมีวิธีการ ที่แตกต่างกันออกไป มีทั้งง่าย และยากต่อการพ่น ในที่นี้ไม่ได้หมายรวมไปถึง สังคมบ้านเรา ที่มีการแอบพ่นสีตามผนัง การพ่นประกาศศักดิ์ดาต่างๆ เช่น ห้ามฉี่บริเวณนี้ ตั้มรักจุ๋ม อะไรประมาณนี้ ฯลฯ ถ้ามองดีๆ งานพวกนี้ก็มี ลักษณะคล้าย ๆ กับแท็ก แต่บางคนมองว่า งานกราฟฟิตี ต้องมีอะไรมากว่านั้น

กราฟฟิตีไม่ใช่แค่พ่น เพื่อความสนุกสนาน หรือประชดประชันสังคมเท่านั้น ต้องมีเรื่องขององค์ประกอบศิลป์ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย มีทั้งองค์ประกอบ พื้นผิว พื้นที่ว่าง โครงสร้างสี รูปทรง ฯลฯ รวมไปถึง ความสามารถป่ายปีนด้วย (ผู้เขียนคิดอย่างนั้น) บางครั้งเห็นภาพที่พ่น แอบอยู่ตามซอกหลืบ หลบมุมบ้าง อยู่บนผนังตึกสูงบ้าง ลองคิดดูสิครับ ความสามารถที่พวกเขาทำ ไม่ธรรมดาเลยทีเดียว บางครั้งเราแทบไม่รู้เลยว่าคนจำพวกนี้มาพ่นกันตอนไหน จริงไหมครับ…?

คำว่า
“ขยะ” มันก็คือสิ่งที่ถูกทิ้งแล้ว แต่สำหรับนักกราฟฟิตี เขาบอกว่า “มันคือสิ่งที่เขาสร้างขึ้น มันจะเป็นขยะไปได้อย่างไร ?” คำพูดที่เชื่อมั่น หนักแน่นของพวกเขา มันเป็นคำพูดที่ท้าทาย และต้องการค้นหาความหมายต่อไป เพราะฉะนั้นแล้วผู้อ่านลองคิดดูว่า สิ่งที่พวกเขากำลังกระทำ มันเป็นเช่นไร “ศิลปะหรือขยะ”