วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2552

TYPE IS TO READ.




ลักษณะตัวเนื้อความที่ดี
  • เมื่ออ่านไปเรื่อยๆ จะลืมว่าหน้าตาของแบบตัวพิมพ์เป็นอย่างไร
  • ทำให้อ่านแล้วจับใจความได้ง่าย
  • ไม่ปรากฏรูปลักษณ์ที่ชัดเจน

ความล้มเหลวของตัวเนื้อความ
  • อ่านยาก
- เพี้ยนไปจากมาตรฐานมาก
- มีคู่สับสน
- ช่องไฟชิดเกินไป
  • รำคาญตา
- ลูกเล่นในการออกแบบมากไป
- ช่องไฟไม่สม่ำเสมอ
- ขนาดตัวอักษรไม่สมดุล
- ความไม่ปราณีตกลมกลืนของรูปอักษร (Glyph)

การศึกษารูปลักษณ์ของอักษรไทย เพื่อประโยชน์ในการออกแบบ
ทำให้รู้ว่าข้อควรระวังในการออกแบบตัวพิมพ์ไทยคือ
ระวังคู่สับสน
กำหนด Style จากลักษณะเด่นของอักษรไทย(คิดว่าหมายถึง จับลักษณะเด่นของรูปลักษณ์อักษรไทยก่อน เมื่อรู้แล้วจึงออกแบบ ใส่ Style เข้าไป)
ตรวจสอบว่าออกแบบแล้วเกิดคู่สับสนใหม่หรือไม่

ลักษณะเด่น 6 ประการของอักษรไทย
1. มีหัว
- หัวกลม : พ ผ ด ค ภ ถ ...
- หัวม้วน : ข ช ...
- หัวหยัก : ฃ ฆ ฑ ...
2. มีหาง - หางตรง : ป ฝ ฟ ฤ ฦ ...
- หางเฉียง : ช ซ ศ ส ...
- หางขมวดตวัด : ฬ ฮ ...
3. มีขมวดม้วน : ม น ห ...
4. มีปาก : ก ฎ ถ ...
5. มีหยัก : ฅ ต ฏ ...
6. มีเส้นสะบัด : ฐ ธ ร โ
อ้างอิง : คุณปริญญา โรจน์อารยานนท์

การสร้างฟอนต์ที่มีลักษณะหรือรูปลักษณ์แบบจีน เพราะที่ผมออกแบบปกให้กับบริษัทหนึ่งนั้นมีการใช้ตัวอักษรแบบจีนบ่อยครั้งมาก จึงตัดปัญหาการจัดสร้างและดัดแปลงตัวอักษรอยู่ตลอดเวลา จึงคิดที่จะประดิษฐ์ฟอนต์รูปแบบจีนเพื่อใช้ในงานสิ่งพิมพ์ และเพื่อประโยชน์ของชาวกราฟิกในอนาคต ถ้าฟอนต์ตัวนี้สร้างเสร็จเมื่อไหร่จะนำมาเผยแพร่ให้ใช้โดยทั่วกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น